วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562

โรคกระดูกพรุน

   โรคกระดูกพรุนคืออะไร 
    โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ซึ่งมีผลมาจากการที่โครงสร้างภายในของกระดูก ถูกทำลายหรือเกิดการสลายตัวจนทำให้เนื้อกระดูกมีลักษณะเป็นรูปพรุนคล้ายฟองน้ำเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าภาวะ "กระดูกพรุน" ซึ่งจะมีผลทำให้กระดูกส่วนต่างๆมีโอกาสแตกหักได้ ง่ายกว่าภาวะปกติโดยเฉพาะบริเวณ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือ 
    ในทุกวันร่างกายของเราจะมีกระบวนการสร้างมวลกระดูกใหม่ และสลายมวลกระดูกที่หมดอายุออกไปตลอดเวลา  โดยที่ผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2-3 เท่าเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นโดยในช่วงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือในช่วงวัยหมดประจำเดือน พบว่าปริมาณเนื้อกระดูกของคนวัยนี้ จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับคนวัยอื่น ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายซึ่งส่งผลต่ออัตราการสลายกระดูกการที่ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากภาวะวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้มีการเร่งอัตราการสลายของมวลกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกใหม่ทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลายจนเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด
สารอาหารสำหรับบำรุงกระดูกได้แก่
     1.แคลเซี่ยม ในวัยผู้ใหญ่ที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรรับประทานแคลเซี่ยมให้ได้ 800 ถึง 1000 มิลลิกรัมต่อวัน แคลเซี่ยมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดเป็นอันดับสามในร่างกายหน้าที่ของแคลเซี่ยม คือ ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันภาวะกระดูกพรุน แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซี่ยมได้แก่ นม โยเกิร์ต ถั่วเหลือง
    2.แมกนีเซียม มีส่วนสำคัญในการผลิตพลังงาน  สร้างโปรตีน  และช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ  ซึ่งพบมากในถั่วต่างๆ ธัญพืชแป้ง และอาหารทะเล
     3.ทองแดง แมงกานิส  สังกะสี  แร่ธาตุที่กล่าวมานี้จะเข้ามาช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในกลไกการสร้างกระดูก และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลังโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งแหล่งอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุเหล่านี้  ได้แก่  ถั่วเมล็ดแห้งถั่วลันเตา ธัญพืช ผักใบเขียวและอาหารทะเล
     4.สารสกัดจมูกถั่วเหลือง  ที่อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน  มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกโดยตรง และช่วยลดการเกิดโรคกระดูกพรุนได้  พบได้จากผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้  นมถั่วเหลือง  เป็นต้น 


วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

ผักและผลไม้

    ชีวิตในสังคมปัจจุบันเราต้องยอมรับความจริงว่า อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อเรามักไม่ค่อยได้คำนึงถึงการคัดเลือกคุณค่าและปริมาณของอาหารที่เหมาะสมมากนัก รวมถึงการไม่มีเวลาสำหรับการออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ  การมีความเครียดท่ามกลางสภาวะแวดล้อมและมลภาวะรอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นตัวนำพาโรคร้ายมาสู่ตัวเราทั้งสิ้น
    จากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวทำให้ปัจจุบันคนเราเผชิญกับปัญหาสุขภาพการเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้นในช่วงอายุที่น้อยลง  ปัจจุบันในทางการแพทย์พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้อวัยวะและร่างกายเสื่อมสภาพเกิดจากอนุมูลอิสระ แต่ยังโชคดีที่เราสามารถต่อสู้กับอนุมูนอิสระได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจากอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผักและผลไม้
     จากการศึกษาค้นคว้า และผลการวิจัยจากแหล่งต่างๆในหลายประเทศ เห็นตรงกันว่าพืชผักจำนวนมาก  มีสารอาหารที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนเราได้ โดยภายใต้สีสันอันสวยงามของพืชผักและผลไม้นานาชนิดนั้น มีกลุ่มสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือกลุ่มสารแคโรทีนนอยด์ ซึ่งเป็นเม็ดสีที่เป็นตัวกำหนดสีของพืชนั่นเอง  กลุ่มสารเหล่านี้มีคุณสมบัติใน การต้านอนุมูนอิสระที่เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคร้าย  อย่างโรคมะเร็งและโรคหัวใจซึ่งกำลังเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก ดังนั้นถ้ากินผักและผลไม้ให้หลากหลาย  เราก็จะได้รับสารอาหารที่หลากหลาย  ที่สามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์และป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังด้วย

น้ำมันปลา

  กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ถือว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญยิ่งต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งส่วนใหญ่กรดไขมันชนิดนี้ พบได้ในไขมันจากสัตว์   เช่น น้ำมันปลา ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของธรรมชาติที่พบมากและมีคุณภาพดี ปัจจุบันมีความสนใจทางการแพทย์เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆโดยเริ่มจากข้อมูลที่ว่าชาวเอสกิโมมีเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันต่ำ เมื่อศึกษาถึงโภชนาการจึงพบว่าอาหารที่ชาวเอสกิโมรับประทานในชีวิตประจำวันคือปลาและแมวน้ำซึ่งเป็นแหล่งที่มีโอเมก้า-3 ปริมาณสูงปัจจุบันจึงมีการยืนยันทางการแพทย์ถึงประโยชน์ที่สำคัญของกรดโอเมก้า-3 ต่อร่างกายในการลดความเสี่ยง หรือป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น
1.โรคหัวใจและโรคสมองขาดเลือด
2. ช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดลดความดันโลหิต
3. ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของข้อเสื่อม ข้อรูมาตอยด์
4. ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความเสื่อมของสมอง โรคซึมเศร้าและบำรุงสายตา
5. บรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิดเช่นสะเก็ดเงิน  โรคเรื้อนกวาง
6. ป้องกันหรือบรรเทาโรคหอบหืด
7. ปวดไมเกรน
8. เบาหวาน
น้ำมันปลาเป็นสารอาหารประเภทไขมันซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันในกลุ่ม Omega-3  (Polyunsaturated  fatty  Acid) ซึ่งมีกรดไขมันที่สำคัญอยู่ 2 ชนิดคือ
1. EPA (Eicosapentaenoic Acid) กรดไขมัน EPA มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด  ป้องกันไขมันอุดตันหลอดเลือด  ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด  ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุในการเกิดโรคหัวใจและสมองอุดตัน  นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อม  ข้อรูมาตอยด์ได้เช่นกัน
2.DHA (Docosahexaenoic Acid) กรดไขมัน DHA มีบทบาทที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและสายตา  ช่วยเสริมสร้างและป้องกันความเสื่อมของสมองการเรียนรู้และความจำ รวมถึงระบบสายตา ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ🐟

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

วิตามินซี

🍊 เรามาทราบประโยชน์จากเจ้าวิตามินซีกันดีกว่านะ 🍋
 โดยทั่วไปแล้ว เราจะทราบมาว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวันๆ จะสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ทำให้เราไม่เป็นหวัดบ่อย และหายจากโรคหวัดได้เร็วขึ้น
 นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมมากมายที่ทำให้เราทราบว่าวิตามินซีมีประโยชน์มากกว่าการป้องกันโรคหวัด
1.วิตามินซี สามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้
2.วิตามินซี ช่วยบำรุงผิวได้ ยังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์ ทำให้ผิวแน่น และยืดหยุ่นดี
3.รับประทานวิตามินซีทุกวัน ไม่เป็นต้อกระจก
4.วิตามินซี ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง
การรับประทานวิตามินซีจากผักและผลไม้อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
     
     เนื่องจากวิตามินซีเป็นวิตามินที่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ ความร้อน หรือความชื้น ดังนั้นเราควรเลือกรับประทานผักผลไม้ที่ใหม่ สด หรือยิ่งเก็บจากต้นได้จะยิ่งดี  แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเลือกได้ดังนั้นปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายได้รับแต่ละวันอาจไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
   
     เมื่อรู้แล้วเรามาทานผักผลไม้กันดีกว่าเพื่อสุขภาพและผิวที่ดียาวนาน